หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)

( Programme specification )

ชื่อสถานศึกษา

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี คณะสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

สถานที่ตั้งสถานศึกษา

อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

การรับรองจากสภาวิชาชีพ

ได้รับการรับรองจากสภาการสาธารณสุขชุมชน ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 วันที่ 19 เม.ย. 2564

ชื่อปริญญาที่ได้รับ

สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) / ส.บ.(สาธารณสุขชุมชน)

Bachelor of Public Health (Community Public Health) / B.P.H. (Community Public Health)

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน หลักสูตรปรับปรุง 2564

Bachelor of Public Health Program in Community Public Health

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง   (PLOs) 

เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแล้วบัณฑิตจะมีความสามารถดังต่อไปนี้

PLO 1 แสดงออกถึงการเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม มีเมตตา กรุณา ตามจรรยาบรรณ วิชาชีพ มีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ เสียสละ ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา และอดทน สามารถแยกแยะความถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ สำนึก พิทักษ์ ประโยชน์ด้านสุขภาพของประชาชน และให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

PLO 2 รอบรู้และบูรณาการศาสตร์ทางสาธารณสุขศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการปัญหาด้านสาธารณสุขเชิงรุก ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคุมโรค ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ส่งต่อผู้ป่วยฟื้นฟูสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน ด้านอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านบริหารและกฎหมายสาธารณสุขแบบองค์รวม โดยชุมชนมีส่วนร่วม

PLO 3 เรียนรู้ สะท้อนคิด คิดเป็นระบบ คิดอย่างมีวิจารณญาณและวางแผนเพื่อพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต แสดงออกซึ่งทักษะความเป็นผู้ประกอบการ และสามารถปรับตัวได้ตามบริบทของสังคม

PLO 4 สื่อสาร และแสดงออกอย่างเหมาะสม สอนและให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการได้

PLO 5 แสดงออกซึ่งการเข้าใจตนเองและผู้อื่นยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เข้าใจธรรมชาติของชีวิต และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพและผู้อื่น แสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านภาวะผู้นำ และมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น

PLO 6 รอบรู้ด้านดิจิทัล วิเคราะห์ตัวเลข สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน

PLO 7 ปฏิบัติงานด้านบริหารสาธารณสุขภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถใช้กระบวนการวิจัยและนวัตกรรมที่เหมาะสมในการพัฒงานสาธารณสุข

PLO 8 ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคุมโรค ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ส่งต่อผู้ป่วย ฟื้นฟูสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน ด้านอาชีวอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านบริหารและกฎหมายสาธารสุขแบบองค์รวม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

ประกอบวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนและข้อกำหนดของสภาวิชาชีพการสาธารณสุขในสถานบริการสุขภาพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่ง นักวิชาการสุขศึกษา อาจารย์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน หรือนักวิชาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพ รวมทั้งปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านสุขภาพและพัฒนาทางด้านสาธารณสุขภาคเอกชน

การกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (และแหล่งอ้างอิง)

  • กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552
  • กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน ตามพรบ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.2556 มาตรา 3

เกณฑ์การรับเข้าหรือความต้องการหลักสูตร

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา รอบที่ 1 Portfolio รอบที่ 2 (Quota) รอบที่ 3 Admissions

รอบที่ 4 Direct Admission รอบที่ 5 รับตรงอิสระ

คุณสมบัติทั่วไป
  1. ไม่มีสถานะเป็นข้าราชการ
  2. เป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 35 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันเปิดภาคการศึกษา
  3. เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านตามโครงการรับสมัครที่กำหนด
  4. เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม ไม่มีความพิการ หรือผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ
  5. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ไม่เคยมีชื่อเสียงเสียหาย ไม่เคยถูกลงโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
  6. กรณีผู้สมัครเป็นชาย ต้องไม่เป็นผู้ถูกคัดเลือกเข้ารับราชการทหารในเดือน เมษายน 2567
  7. ไม่เป็นภิกษุ สามเณร นักบวช ตามคำสั่งมหาเถรสมาคม ที่ 1/2564 เรื่อง กรณีพระภิกษุสามเณรเรียนวิชา หรือสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือกอย่างคฤหัสถ์ พ.ศ. 2564
คุณสมบัติทางการศึกษา เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ

ข้อมูลการเทียบเคียงกับหลักสูตรอื่น (ถ้ามี)         ไม่มี

โครงสร้างของหลักสูตร

หลักสูตรมีระยะเวลาการศึกษาเต็มเวลา 4 ปี และจะสำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 8 ภาคการศึกษาปกติ และไม่เกิน 8 ปีการศึกษา จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 128 หน่วยกิต  ประกอบด้วย

หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

กลุ่มสาระภาษาและการสื่อสาร 15 หน่วยกิต

กลุ่มสาระทักษะความเป็นมนุษย์และทักษะทางสังคม 6 หน่วยกิต

กลุ่มสาระทักษะปัญญาและการเรียนรู้ยุคดิจิตัล 9 หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ 92 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 30 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาชีพ 62 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

วันเดือนปีที่พัฒนา (update) ที่สภาสถาบันอนุมัติ

  • 14 มีนาคม 2567 สภาสถาบันอนุมัติ สมอ.08 เรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบหลักสูตร
  • 14 พฤษภาคม 2564 อนุมัติหลักสูตร

ข้อมูลประจำหลักสูตร​

Facebook
Email
Print