หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข

Bachelor of Public Health Program in Dental Public Health

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

วัตถุประสงค์

หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตด้านทันตสาธารณสุขที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการสุขภาพช่องปากและสุขภาพชุมชน มีทักษะในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแบบองค์รวม และให้บริการด้วยหัวใจ ความเป็นมนุษย์ เพื่อการบริหารจัดการกำลังคนด้านสาธารณสุข และการเตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประเทศโดยรวม

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 141 หน่วยกิต

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป             30 หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ                     105 หน่วยกิต

– 2.1)  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ   30 หน่วยกิต

– 2.2)  กลุ่มวิชาชีพ                     75 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี                 6 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1) ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข (ทันตสาธารณสุข) หรือนักวิชาการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก หรือนักวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยสามารถปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การป้องกันโรคในช่องปาก การรักษาทางทันตกรรมขั้นพื้นฐาน โดยปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานบริการสาธารณสุขของภาครัฐ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม (ตามระเบียบกระทรวงฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559)

2) ปฏิบัติงาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการควบคุมโรค นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน โดยสามารถปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพทั่วไป (ภายใต้การควบคุมของสภาวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง(Program Learning Outcomes: PLO) ของหลักสูตร หมวดวิชาเฉพาะ

1) แสดงออกถึงการเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ เสียสละ ซื่อสัตย์ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ เคารพสิทธิตนเองและผู้อื่น มีจริยธรรมวิชาชีพ และจรรยาบรรณทางวิชาการ มีจิตอาสาเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม และให้บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

2) รอบรู้และบูรณาการศาสตร์ทางสาธารณสุขและทันตสาธารณสุข หลักการและทฤษฎีที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ หลักการและทฤษฎีที่เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการปัญหาด้านสาธารณสุขและทันตสาธารณสุขแบบองค์รวม

3) แสวงหาความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ คิดเป็นระบบ คิดวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหา คิดเชิงบวก และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

4) แสดงออกซึ่งการเข้าใจตนเอง ผู้อื่น ปรับตัวตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ เป็นผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสม มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพ

5) สื่อสารและแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการได้

6) รอบรู้ด้านดิจิทัล วิเคราะห์เชิงตัวเลข สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน

7) ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคุมโรค ตรวจประเมิน บำบัดโรคเบื้องต้น ฟื้นฟูสุขภาพ และการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อการส่งต่อ

8) ปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เลือกและดำเนินมาตรการทางทันตกรรมป้องกัน ตรวจและบำบัดโรคในช่องปากทุกกลุ่มวัย

ข้อมูลประจำหลักสูตร​

Scroll to Top